หน่วยที่ 3
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
สารระสำคัญ
การเคลื่อนที่ของวัตถุเป็นผลมาจากการที่มีแรงไปกระทำต่อวัตถุ
ทำให้วัตถุเปลี่ยนแปลงสภาพโดยเปลี่ยนตำแหน่งจากจุดที่
1
ไปยังจุดที่ 2 โดยการเปลี่ยนตำแหน่งของวัตถุจะทำให้เกิดปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
เป็นขบวนการที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไปโดยมีทิศทาง และระยะทาง ลักษณะทางการเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงเป็นการเคลื่อนที่ที่ง่ายที่สุด
การเคลื่อนที่เกิดขึ้นเมื่อไร (WHEN
DOES MOTION OCCUR?)
เมื่อวัตถุเคลื่อนที่ (moving
object) เราสามารถแสดงตำแหน่ง (location)
และความเร็ว (velocity) ของวัตถุในทุก ๆ หน่วยของเวลาได้
ในทางตรงข้ามเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ถึงตำแหน่งที่กำหนด
หรือเคลื่อนที่ถึงความเร็วที่กำหนดก็สามารถทำนายเวลา (time)
(ยิ่งศักดิ์ นิตยฤกษ์,2549)
สาระการเรียนรู้
1.
ความหมายและปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
2.
กฎการเคลื่อนที่
3.
การเคลื่อนที่ของวัตถุในแนวเส้นตรงตามแนวราบ
4. การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงของวัตถุภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก
จุดประสงค์การเรียนรู้
1.
อธิบายลักษณะของการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงได้
2. บอกความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ได้
3. คำนวณหาอัตราเร็ว ความเร็ว
ความเร่งของวัตถุได้
4. คำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงตามแนวราบได้
5. คำนวณหาความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกได้
กิจกรรมการเรียนรู้
1.
ทำแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยที่
3 พร้อมเฉลยใช้เวลา 10 นาที นำเข้าสู่บทเรียน
เรื่องการเคลื่อนที่
โดยการสนทนา เกี่ยวกับการเคลื่อนที่
2. ผู้สอนบอกจุดประสงค์การเรียนรู้
หน่วยที่ 3 การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง
3. ผู้เรียนศึกษาภาพเพื่อสรุปความหมายและความแตกต่างของระยะทางและการกระจัด
4.
ผู้เรียนศึกษากราฟการกระจัดกับเวลา, ความเร็วกับเวลา
และกราฟความเร่งกับเวลา และ
ผู้สอนอธิบายลักษณะของกราฟแต่ละประเภท
5. ผู้สอนเตรียมการสาธิตและให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในเส้นตรงประกอบการสาธิตโดยเตรียมรถเด็กเล่นไขลาน
โดยทำการสาธิตการเคลื่อนที่ของรถเด็กเล่น ปล่อยให้รถวิ่งไปข้างหน้า
ให้ผู้เรียนสังเกตการสาธิต ถ้ามีเวลาอาจให้นักเรียนบางคนร่วม สาธิตด้วย
6. ผู้เรียนและผู้สอนอภิปรายและสรุปการเรียนรู้จากการสาธิต
ผู้สอนเชื่อมโยงเกี่ยวกับเงื่อนไขการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับปริมาณต่างๆ
ขณะวัตถุเคลื่อนที่แนวเส้นตรง และการคำนวณหาอัตราเร็ว ความเร็ว ความเร่งของวัตถุโดยใช้
PowerPoint ประกอบ
7. ผู้สอนแสดงความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ
ขณะวัตถุเคลื่อนที่แบบเส้นตรง พร้อมยกตัวอย่างการใช้สูตรหาปริมาณต่างๆ โดยใช้ PowerPoint ประกอบ
8. ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม
4 – 5 คน ใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) พร้อมทั้งเลือกประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม
เลขานุการกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม โดยสับเปลี่ยนหน้าที่ในการทำกิจกรรมกลุ่ม
9. ผู้เรียนทำกิจกรรมการทดลองที่ 4.5.1 การตกอย่างอิสระ
10. ผู้สอนให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการทดลอง
ให้ขั้นตอนและรายละเอียดในการทดลองแก่ผู้เรียน โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
11. ผู้เรียนลงมือทดลองตามขั้นตอนที่กำหนด
และบันทึกผลการทดลอง
12.
ผู้เรียนวิเคราะห์สรุปผลการทดลอง และนำแสนอหน้าชั้นเรียน ผู้สอนและผู้เรียนร่วมอภิปรายการทดลองตามแนวคำถามท้ายการทดลอง
สรุปการเรียนรู้
13.
ผู้สอนเชื่อมโยงความรู้จากการทดลองให้ผู้เรียนร่วมกันวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ของปริมาณต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกได้ ตัวอย่างการคำนวณโจทย์ปัญหาพร้อมทั้งให้ผู้เรียนฝึกแก้โจทย์ปัญหา
14. ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวตรงและการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งในชีวิตประจำวัน
15. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนบทที่ 3 ตอน เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง จำนวน 12 ข้อ
โดยใช้เวลา 20 นาที และอธิบายเพิ่มเติมในส่วนที่เห็นว่าผู้เรียนส่วนมากไม่ผ่านการประเมิน เพื่อแก้ข้อสงสัย และความไม่เข้าใจของผู้เรียนเมื่อตรวจแบบทดสอบแล้วแจ้งคะแนนให้นักเรียนทราบ
เพื่อปรับปรุงแก้ไข
16.
ผู้เรียนทำแบบประเมินผลการเรียนรู้บทที่ 3 ตอนที่ 1,2 เรื่อง การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง โดยกำหนดส่งหลังจากวันที่มอบหมายภายใน 3
วัน
สื่อการเรียนรู้
1. เอกสารประกอบการสอนวิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม
2. Powerpoint วิชาวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรม
การวัดผลประเมินผล
วิธีวัดผล
1. สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2. การประเมินผลงานกลุ่ม
3.
ตรวจและให้คะแนนการทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่ 3
4.
ตรวจงานจากการทำแบบประเมินผลการเรียนรู้
5.
สังเกตพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เครื่องมือวัดผล
1.
แบบสังเกตพฤติกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2. แบบประเมินประเมินผลงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
3.
แบบทดสอบหลังเรียนและแบบประเมินผลการเรียนรู้ หน่วยที่ 3
4. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
1. เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม
2. เกณฑ์การประเมินประเมินผลงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน
ไม่น้อยกว่า 17 คะแนน
จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน
3. ความถูกต้องของแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยที่
3 ไม่น้อยกว่า 80%
4.
ความถูกต้องของแบบประเมินผลการเรียนรู้หน่วยที่ 3 ไม่น้อยกว่า 80%
5.
เกณฑ์การประเมินคุณธรรม จริยธรรม
ค่านิยมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้นให้อยู่
ในดุลพินิจของครูผู้สอนและให้ประเมินตามสภาพจริง
1. ความหมายของการเคลื่อนที่
1.1 การเคลื่อนที่ (Motion) หมายถึง
ขบวนการอย่างหนึ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งอย่างต่อเนื่องตามเวลาที่ผ่านไป
โดยมีทิศทางและระยะทาง
1.2
การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง (Rectilinear motion) หมายถึง
การเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวเส้นตรงซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว
เวลา ความเร่ง และระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ (นันทพงษ์ ลายทอง และคณะ, 2549)
ลักษณะการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง สิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่รอบตัวซึ่งมีการเคลื่อนที่นั้นจะมีการเคลื่อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น การเคลื่อนที่ในแนวตรง แนวโค้ง เป็นวงกลม หรือกลับไปกลับมาในการที่เราจะพิจารณาว่าวัตถุมีการเคลื่อนที่หรือไม่ พิจารณาที่ มีการเปลี่ยนตำแหน่งหรือไม่ ถ้ามีการเปลี่ยนตำแหน่ง ถือเป็นการเคลื่อนที่
1.3 การบอกตำแหน่งของวัตถุ การบอกตำแหน่งของสิ่งต่าง
ๆ นั้นทำได้โดยการบอกตำแหน่งเทียบกับตำแหน่งหรือสิ่งที่สังเกตได้โดยง่าย ซึ่งเรียกว่า
ตำแหน่งอ้างอิงหรือจุดอ้างอิง
ซึ่งต้องเป็นจุดที่หยุดนิ่ง
2. ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่
2.1
เวลา (Time, t) การที่จะทราบว่าวัตถุเคลื่อนที่หรือไม่
จะเริ่มจากการสังเกตวัตถุนั้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งจุดที่เริ่มสังเกตจะนับเวลาเริ่มต้น
ณ จุดนั้นมีค่า t = 0 จากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป วัตถุจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง
ช่วงเวลาที่สังเกตจะเป็นเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ซึ่งถ้าไม่ทราบค่าแน่นอนจะใช้ t แทนช่วงเวลาดังกล่าว
โดยมีหน่วยเป็นวินาที (s)
2.2 ระยะทาง (Distance, s) หมายถึง แนวเส้นที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดเริ่มต้นอ้างอิง
ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป
การวัดระยะทางจะวัดตามแนวทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไป ถ้าวัตถุเคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงก็วัดระยะทางได้ง่ายขึ้น
แต่ถ้าแนวทางไม่เป็นเส้นตรงก็จะวัดระยะทางได้ลำบาก
ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้ตามเส้นทางที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่จริง
ๆ โดยไม่คำนึงว่าวัตถุ
จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงหรือไม่
ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์
2.3
การกระจัด (Displacement, d) หมายถึง การที่วัตถุเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
โดยการเคลื่อนที่จากตำแหน่งเริ่มต้นไปยังตำแหน่งสุดท้าย
โดยมีทิศทางจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีหน่วยเป็นเมตร (m)
(นันทพงษ์ ลายทองและคณะ,
2549)
การกระจัด
รูป ภาพที่ 3.2 การกระจัด
สรุป
ระยะห่างตามแนวเส้นตรงระหว่างจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย เป็นปริมาณ
เวกเตอร์
มีขนาดเท่ากับระยะห่างและทิศทางจากจุดเริ่มต้นถึงจุดสุดท้าย
ข้อเปรียบเทียบระหว่างระยะทางกับการกระจัด
1. ระยะทางเป็นปริมาณสเกลาร์ การกระจัดเป็นปริมาณเวกเตอร์
2. ขนาดของระยะทางจะมากกว่าการกระจัดเสมอ
ถ้าวัตถุนั้นไม่ได้เคลื่อนที่ใน
แนวเส้นตรงตลอด
เช่น วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่จาก A ไปทางทิศตะวันออก ถึง B เป็นระยะทาง 12 เมตร แล้วเคลื่อนที่ต่อไปทางทิศเหนือ ถึง C เป็นระยะ 5 เมตร
รูปภาพที่ 3.3
การหาการกระจัด
3.
ขนาดของระยะทางกับการกระจัดมีโอกาสเท่ากันได้
ถ้าวัตถุนั้นเคลื่อนที่โดย
ไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง
2.4 อัตราเร็ว คือ ระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ในหนึ่งหน่วยเวลาเป็นปริมาณ
สเกลาร์
ไม่คำนึงถึงทิศทาง มีหน่วยเป็นเมตร
/ วินาที
ตัวอย่างที่ 3.1 จงหาอัตราเร็วของการเคลื่อนที่จากจุด A ไปจุด B
ซึ่งมีระยะทาง
การหาความเร็วเฉลี่ยและ
ความเร็วขณะใดขณะหนึ่งจากกราฟ
ถ้าเขียนกราฟระหว่างการกระจัด d และเวลา t ความชันของเส้นตรงที่ลากระหว่างตำแหน่งคู่ใด ๆ คือ
ความเร็วเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ระหว่างตำแหน่งทั้งสอง
รูปภาพที่
3.4 แสดงกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง d กับ t
จากกราฟความชัน(slope) ของเส้นตรงที่ต่อระหว่าง
A และ B คือความเร็วเฉลี่ยของ
การเคลื่อนที่ในช่วง
AB หรือเป็นความเร็วเฉลี่ยในช่วง t1 ถึง t2
ข้อเปรียบเทียบระหว่างอัตราเร็วกับความเร็ว
1. อัตราเร็วเป็นปริมาณสเกลาร์
ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์
2. ถ้าวัตถุเคลื่อนที่โดยไม่เปลี่ยนทิศทาง (เคลื่อนที่ในแนวเส้นตรง) ขนาดของความเร็ว คือ
อัตราเร็ว
3. อัตราเร็วจะมีค่าเปลี่ยนแปลงเมื่อขนาดเปลี่ยนแปลง
4. ความเร็วจะเปลี่ยนแปลงเมื่อ
4.1
ขนาดเปลี่ยนแปลง
4.2 ขนาดคงที่แต่ทิศทางเปลี่ยนแปลง เช่น วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วย
อัตราเร็วคงที่
ความเร็วของการเคลื่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะเส้นทางของความเร็วเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
และ 3 S
3. กฎการเคลื่อนที่ (Laws of
Motion)
กฎของการเคลื่อนที่ซึ่งเสนอโดยท่าน
เซอร์ไอแซค นิวตัน เป็นหัวใจของวิชากลศาสตร์
เราอาจกล่าววได้ว่าหลักการ (principles)
ทุกหลักการในวิชานี้งอกเงยมาจากกฎ(ของ)การเคลื่อนที่นี้
กฎเหล่านี้ไม่ได้มาจากการทำการทดลองหาโดยตรง
แต่มาจากการสังเกตปรากฎการณ์ธรรมชาติและจากสมองสุดล้ำเลิศของนักฟิสิกส์สำคัญคนหนึ่งที่มนุษยชาติเคยมี
ท่านนั้นคือเซอร์ไอแซค นิวตัน กฎการเคลื่อนที่นี้มีอยู่สามข้อ ดังนี้
3.1 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่หนึ่ง: กฎของความเฉื่อย(Law of Inertia) “วัตถุจะคงสภาวะอยู่นิ่ง
หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ในแนวเส้นตรง
หากไม่มีแรงมากระทำให้เปลี่ยนสภาวะนั้น ๆ ไป” กฎข้อนี้เท่ากับเป็นการให้คำจำกัดความของระบบอ้างอิงแบบที่เรียกว่า
ระบบอ้างอิงเฉื่อย (inertial frames of reference)
และพร้อมกันก็นำมาซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับความเฉื่อย(inertia) (วุทธิพันธุ์ ปรัชญพฤทธิ์,2549)
åF = 0
3.2 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สอง: กฎของแรง (Law of
Force) “เมื่อมีแรงลัพธ์ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ
จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง
จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ”
3.3 กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สาม: กฎของแรงกิริยา-ปฏิกิริยา(Law of
Action-Reaction)
“ทุกครั้งที่มีแรงกิริยา
จะต้องมีแรงปฎิกิริยาโต้ตอบต้องขนาดเท่ากันแต่ทิศทางตรงกันข้าม”
แรงกิริยา(action) = แรงปฏิกิริยา (Reaction)
3.4
กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน
“วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน
โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ
จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น”
เมื่อ G
คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากลมีค่า 6.67 x 10-11 N.m2/kg2 (จารุณี เชิดชัยสถาพร , 2550)
ตัวอย่างที่ 3.4 ดาวเคราะห์ดวงหนึ่งมีมวล 12 ´ 108 กิโลกรัม รัศมี 2 ´ 102 เมตร
ดาวเคราะห์จะมีแรงดึงดูดดวงจันทร์บริวารซึ่งมีมวล 2 ´ 103 กิโลกรัม อยู่ใกล้ๆผิวของดาวเคราะห์
สำหรับการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร็วคงตัว ระยะทางที่ได้จะเท่ากับผลคูณระหว่างความเร็วกับช่วงเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่นั้น
ถ้าพิจารณาจากกราฟ ผลคูณระหว่างความเร็วกับช่วงเวลาคือพื้นที่ใต้กราฟความเร็ว – เวลา
นั่นแสดงว่าพื้นที่ใต้กราฟความเร็ว – เวลา
ในช่วงเวลาที่กำหนดคือ ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ได้
หรือการกระจัดที่เปลี่ยนไปในช่วงเวลานั้น
รูปภาพที่ 3.5 กราฟ t
กับ ความเร็วขณะหนึ่ง
4. การเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงตามแนวราบ
4.1 เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่
![]() |
a
เป็นความเร่งเฉลี่ยในช่วงเวลา t หน่วยเป็นเมตรต่อวินาที 2
(m/s2)
|
|
กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร่งคงตัวในแนวราบกำหนดให้ปริมาณที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น
ค่า a
เป็นบวก และถ้าความเร็วลดลงค่า a เป็นลบ
กรณีวัตถุออกจากสภาพนิ่งค่า
u = 0
กรณีวัตถุเคลื่อนที่แล้วหยุดค่า v = 0
กรณีวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวค่า a
= 0
ตัวอย่างที่ 3.5 วัตถุเริ่มเคลื่อนที่จากจุดหยุดนิ่งไปด้วยความเร่ง 4 m/s2 นาน 5 s
ถ้าแล่นต่อไปด้วยความเร็วคงที่ เป็นเวลา 20 s ต่อจากนั้นก็ลดความเร็วลงด้วยความหน่วง 5
m/s2 จนหยุด
จงหา
ก.
ระยะที่วัตถุนั้นแล่นไปได้ทั้งหมด
ข.
เวลาที่ใช้ในการเคลื่อนที่ทั้งหมด
4.3. กราฟการกระจัด – เวลา
กราฟการกระจัด – เวลา
มีประโยชน์สำหรับในการหาปริมาณการเคลื่อนที่ของวัตถุ เช่น
รถยนต์คันหนึ่งเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงจากจุด A ที่เวลา t1 =
0 วินาที ถึงจุด B ที่เวลา
t2
= t วินาที ได้การกระจัด S เมตร
1. การกระจัด S เป็นบวก และกราฟเป็นเส้นตรง แสดงว่ารถเคลื่อนที่ไปทิศทางเดียว
ไม่ย้อนกลับ
2. การกระจัด S แปรผันตรงกับเวลา และกราฟเป็นเส้นตรง แสดงว่าความเร็วคงที่ สามารถหาความเร็วได้จากความชัน (Slope)ของกราฟ
4.4
กราฟความเร็ว –
เวลา
วัตถุอยู่นิ่งกับที่และวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่จะมีความเร่งเป็นศูนย์ วัตถุที่เปลี่ยนความเร็วจะมีความเร่ง ดังนั้นความเร่งสามารถหาได้จากกราฟความเร็ว –
เวลา
4.5
การเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก
การเคลื่อนที่ของสิ่งต่าง ๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ถ้าพิจารณาโดยหลักการทางฟิสิกส์จะพบว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบมีความเร่ง
ซึ่งมีทั้งความเร่งคงตัวและความเร่งที่เปลี่ยนแปลง ในการศึกษาเบื้องต้น จะศึกษาเฉพาะการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว
จากการศึกษา การตกแบบเสรี
(Free fall) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ปล่อยให้ตกภายใต้แรงดึงดูดของโลกเพียงอย่างเดียว
( ไม่คิดแรงต้านหรือแรงเสียดทานของอากาศ)
ความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกอย่างอิสระหรือตกแบบเสรีนี้ คือ ความเร่งเนื่องจากแรงดึงดูดของโลก
(Acceleration due
to gravity) ใช้ g เป็นสัญลักษณ์ ซึ่งมีค่าประมาณ 9.80665
m/s2 ซึ่งเป็นค่าที่หาได้จากค่าเฉลี่ยทุกจุดของโลก
เพื่อความสะดวกมักจะใช้ค่า
g = 9.8 m/s2 หรืออาจใช้ 10 m/s2
การคำนวณการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก (การตกอย่างอิสระ)
การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งภายใต้แรงดึงดูดของโลก หรือการตกอิสระ นี้ จะไม่คิดแรงต้านทานของอากาศ วิธีการคำนวณนั้นคิดเช่นเดียวกับการเคลื่อนที่ในแนวราบด้วยความเร่งคงที่ แต่ใช้สัญลักษณ์ เป็น g แทน a โดยมีสมการที่เกี่ยวข้องดังนี้
ข้อมูลจาก
www.pbntc.moe.go.th/inventor_teacher/datas/หน่วยที่3.doc